QR Code ในชีวิตประจำวัน เรามักจะเห็นได้ว่า QR Code ได้เข้ามามีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันในยุคปัจจุบันอย่างมาก ไม่ใช่มีแค่การแสกนแล้วเป็นเว็บไซต์ หรือ ข้อมูลสินค้า ในที่นี้ QR Code ยังสามารถ ล่าสุด แอพที่ใช้กันทั่วบ้านทั่วเมืองนั่นก็คือแอพเป๋าตัง ซึ่งสามารถใช้จ่าย ร่วมกันในโครงการคนละครึ่ง
สแกนเพื่อชำระเงินได้ด้วยซึ่งถือเป็นการชำระเงินได้อีกด้วยโดยที่ของไทยก็มี QR Code Payment สำหรับการให้บริการผ่านพร้อมเพย์ ของประเทศจีนที่นิยมกันอย่างแพร่หลายก็ได้แก่ Wechat Pay หรือ Alipay
ในช่วงโควิท-19 ที่ต้องมีการระวังและการติดตามผู้คนอยากใกล้ชิดเพื่อสังเกตุว่าใครเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นไวรัสโควิท แอปไทยชนะอย่างต้องเคยลองใช้กันมาบ้างแล้ว ก็เป็นการใช้ QR code มาเข้า app ไทยชนะ
แอปดังที่ของ ศบค. ที่เปิดให้ประชาชนใช้สแกน QR Code เข้าออกร้านต่าง ๆ หากเป็นกลุ่มเสี่ยงติดโควิด-19 จะมีข้อความแจ้งให้เข้าตรวจเชื้อได้ฟรี และตอนนี้มีรายงานว่า แอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” มีผู้ลงทะเบียนเข้าใช้งานกว่า 18 ล้านคนแล้ว ซึ่งประโยชน์ของ QR Code นับว่าจะมีบทบาทกับชีวิตเรามากขึ้นเรื่อยๆ
คิวอาร์โค้ดมีหมดอายุหรือไม่
เว็บที่ใส่ logo ได้ ตกแต่งได้ จะมีหมดอายุใช้ QR เนื่องจาก
– เส้นทางการ gen QR เป็น ข้อความไม่ได้ทำโดยตรง แต่อาศัยวิ่งไปที่ระบบของผู้สร้างขึ้นมาก่อน เพื่อจะเข้าไปที่ record ที่จัดทำว่าลงข้อมูล(ลิ้งค์) ไว้ว่าอะไร แล้วดึงข้อมูลนั้นมาให้อีกที
– รูปแบบนี้ผู้สร้างบอกว่า คุณจะเปลี่ยนลิ้งค์ยังไงก็ได้ ทั้งที่ยังใช้ QR ตัวเดิม แต่เข้ามาแก้ไขในระบบเขาเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าเป็น QR ที่วิ่งไปที่การเก็บข้อมูลใน DB ของผู้สร้างให้
– ระบบของผู้สร้าง เก็บข้อมูลการเข้าถึงของทุกข้อมูลหมด รู้สถิติ ใช้ถี่แค่ไหน ถ้าอันไหนใช้เยอะ ปิดสะ บอกว่าหมดอายุคุณต้องจ่ายเงิน เสร็จละคุณ PR ไปแล้ว จะตามไปเปลี่ยนก็ลำบาก ต้องยอมจ่าย
– หากเว็บผู้สร้างไม่ฮิต ปิดเว็บขึ้นมา QR ทั้งหมดก็หมดอายุเหมือนกัน QR Code ในชีวิตประจำวัน
หรือถ้า QR Code ไม่มีหมดอายุ แต่เว็บไซต์ไม่ต่ออายุโดเมน ตัวอย่างเช่น ยกเว้นเว็บไซต์ไม่ต่ออายุ หรือ การให้บริการนั้นหมดอายุ เช่น บริการลดราคา 50% ถึงเดือนเมษายน ตอนนี้เดือนมิถุนายน ซึ่งลิงค์นี้หมด
อายุไปแล้ว QR Code ที่สร้างไว้จะหาไม่เจอ URL นั้น อาจจะขึ้นว่า “ขออภัยค่ะโปรโมชั่นนี้หมดอายุแล้วค่ะ”
แต่ก็มีบางเว็บที่ให้บริการทำ QR Code บางเว็บมีวันหมดอายุครับ เช่นเว็บ qr-code-generator.com PRO รุ่นทดลองใช้ 14 วัน ถ้าอยากให้มันใช้งานได้อีกต้องจ่ายเงินเพิ่ม
QR Code ต่างจาก Barcode อย่างไร
Barcode 1 มิติ (1 Dimension Barcode)
สำหรับ Barcode 1 มิติ มีลักษณะเป็นแถบประกอบด้วยเส้นสีดำสลับกับวางอยู่บนพื้นที่ขาวสลับกัน ใช้แทนรหัสตัวเลขหรือตัวอักษร โดยสามารถบรรจุข้อมูลได้ประมาณ 20 ตัวอักษร การใช้งาน Barcode มักใช้ร่วมกับฐานข้อมูล คือ เมื่ออ่าน Barcode และถอดรหัสแล้วจึงนำรหัสที่ได้ใช้เรียกข้อมูลจากฐานข้อมูลอีกต่อหนึ่ง Barcode 1 มิติมีหลายชนิด เช่น UPC EAN-13 หรือ ISBN ดังรูปที่ 1 เป็นต้น ซึ่ง Barcode 1 มิติเหล่า
นี้สามารถพบได้ตามสินค้าทั่วไป 7-ELEVEN ซูเปอร์มาร์เก็ตหรือห้างสรรพสินค้าส่วน Bar code 2 มิติ ก็พัฒนามาจาก bar code 1 มิติ คือเพิ่มแนวนอน เข้ามาทำให้บรรจุข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็น 4000 ตัวอักษรหรือ
200 เท่าของบาร์โค้ด 1 มิติในพื้นที่เท่ากันหรือเล็กกว่า และสามารถใช้ได้หลายภาษาอีกด้วย ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้อ่านและถอดรหัส มีตั้งแต่ เครื่องอ่านแบบ CCD (ที่อ่านเลเซอร์) หรือเครื่องอ่านแบบเลเซอร์เหมือนกับบาร์โค้ด 1 มิติจนถึงโทรศัพท์มือถือแบบมีกล้องถ่ายรูปในตัวซึ่งติดตั้งโปรแกรมถอดรหัสไว้ ลักษณะ Bar code ที่ใช้ก็จะมีหลายแบบ แต่ที่พบเห็นได้บ่อยสุดคือ QR code
บาร์โค้ดสองมิติที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีรูปแบบการจัดวางที่แตกต่างกัน โดยที่นิยมใช้กันมากได้แก่
- รหัสคิวอาร์ (QR Code)
- ดาต้าเมทริกซ์ (Data matrix)
- รหัสแม็กซี (MaxiCode)
- รหัสอีซี (EZcode)
- รหัสแอซเทค (Aztec Code)
- เอ็มเอสแท็ก (MS Tag) บาร์โค้ดสองมิติจากไมโครซอฟท์
หากคุณกำลังจะจัดงานที่อยากใช้ระบบ QR Code ในกิจกรรมการจัดงานของคุณ สามารถ ติดต่อได้ที่ K&O Systems ซึ่งมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการทำ ระบบ QR Code ในงาน event มาแล้วมากมาย
อาทิ เช่น ระบบลงทะเบียนเข้างาน QR code จับรางวัล และ อื่นๆ ภายในงาน อีเว้นท์ และ งานแสดงสินค้าเข้าไปดูผลงานได้ที่นี่ Vveedigitalและสอบถามได้ที่เบอร์ 082-645-4469