QR Code ในไทย หลายคนคงเคยรู้จักแอพเป๋าตังค์ กับ โครงการคนละครึ่งกันแล้ว ทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินในวันข้างหน้า ในวันที่เราไม่ต้องพกเงินสดให้กระเป๋าสตางค์ตุงกางเกงอีกต่อไป เราอาจมีแค่
บัตรใบเดียว หรือใช้สมาร์ตโฟนเครื่องเดียวทำธุรกรรมทางการเงินในทุกรูปแบบ เด็กรุ่นหลังอาจไม่เคยเห็นหน้าตาของธนบัตรใบละ 20 บาท 100 บาท 500 บาท และ 1,000 บาทว่าเป็นอย่างไร และการหยิบจับธนบัตรขึ้นมาจ่ายเงินกลายเป็นเรื่องไม่ปกติเสียแล้ว
สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ที่เราได้ยินคนพูดถึงทุกวันบนหน้าหนังสือพิมพ์เซ็กชันธุรกิจ บนนิวฟีดส์ของนักการธนาคาร และทุกงานสัมมนาเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทย ทำให้เราต้องตื่นตัวและปรับตัวขนาดไหน ภาพใหญ่ของสังคมไทยพร้อมหรือยังกับสังคมไร้เงินสด ส่วนตัวเราพอจะเข้าใจมันมากน้อยแค่ไหน มีเครื่องไม้เครื่องมืออะไรบ้างที่ใช้ได้ มาเรียนรู้กันในวันนี้เพื่อเตรียมพร้อมในวันข้างหน้า
ทำความเข้าใจสังคมไร้เงินสด
แนวคิดเรื่องสังคมไร้เงินสดมีการพูดกันเป็นครั้งแรกในวงการธนาคารช่วงยุค 1950s ว่าด้วยความสำคัญของเงินสดจะลดลง และถูกแทนที่ด้วยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และการโทรคมนาคมในการทำธุรกรรมทางการเงิน ทำให้นับแต่นั้นมา ระบบการชำระเงินของโลกได้เปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือการมุ่งไปใช้ e-Payment หรือบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แทนเงินสดกันมากขึ้น
หนึ่งในเครื่องมือที่เราคุ้นเคย คือการใช้ ‘บัตรเดบิต’ ในการชำระเงิน พฤติกรรมของคนมีบัตรเดบิตนิยมนำไปกดเงินสดที่ตู้เอทีเอ็มเพื่อชำระค่าบริการและสินค้ามากกว่าที่จะรูดจ่ายกับร้านค้าโดยตรง นั่นเพราะความแพร่หลายของเครื่องรูดบัตรยังมีน้อย ส่วนหนึ่งกระจุกตัวอยู่ในโมเดิร์นเทรดและห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ แต่ไม่ค่อยเจอในร้านค้ารายย่อย เพราะทั้งต้นทุนการติดตั้งเครื่องรูดบัตรที่สูง และร้านค้ายังต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการเสียค่าธรรมเนียมที่ 1.5-2.5 เปอร์เซ็นต์ต่อรายการ
อีกส่วนที่เกิดขึ้นและกำลังเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค ได้แก่ การให้บริการ e-Wallet เช่น Apple Pay, Samsung Pay หรือถ้าในไทยก็อย่าง m-Pay, True Money และ Rabbit แต่จุดอ่อนของผู้ให้บริการเหล่า
นี้คือ มีลักษณะเฉพาะเจาะจงกับกลุ่มลูกค้าของตัวเอง ทำให้การใช้งานค่อนข้างจะถูกจำกัด และอาจเกิดความสับสนในการใช้งาน ที่คนใช้ต้องคอยดูว่าร้านค้าหรือบริการนี้สามารถใช้ e-Wallet ของเจ้าไหนได้บ้างสําหรับร้านค้าที่สนใจรับเงินด้วย Thai standard QR Code สามารถติดต่อผู้ให้บริการโดยตรง เช่น
ธนาคารพาณิชย์ หรือผู้ให้บริการช าระเงินอื่น ที่ให้บริการ Thai standard QR Code โดยธนาคารหรือ
ผู้ให้บริการจะเป็นผู้จัดท าข้อมูลและสร้าง Thai standard QR Code ให้กับร้านค้า และในการใช้ QR code
ร้านค้าควรหมั่นตรวจสอบ QR Code ของตนเองให้ถูกต้องเสมอและมีชื่อผู้รับเงินหรือชื่อร้านค้าที่ชัดเจนให้
ลูกค้าสามารถตรวจเช็คข้อมูลได้ ทางด้านลูกค้าก็จะต้องตรวจสอบจ านวนเงิน ชื่อผู้รับเงินหรือร้านค้า ก่อนยืนยัน การทำรายการช าระเงินทุกครั้ง ไม่สแกน QR code ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาชัดเจน และไม่หลงเชื่อกลลวงของมิจฉาชีพที่อาจมาหลอกขอข้อมูลโดยง่าย หากมีปัญหาในการใช้งานสามารถติดต่อ Call center
ของธนาคารที่ ท่านใช้บริการอยู่ นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีการพัฒนาต่อยอดบริการช าระเงินด้วย Standard QR Code อย่างต่อเนื่อง เช่น การรับช าระเงินด้วยบัตรเครดิตและบัตรเดบิต การช าระเงินข้ามประเทศ ท าให้คนไทยที่เดินทางท่องเที่ยว ในต่างประเทศ และคนต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวในไทยสามารถใช้
จ่ายได้สะดวกด้วยการสแกน QR Code ผ่าน Mobile Banking Application ไม่ต้องพกเงินสดจ านวนมากอีกต่อไป ด้วยความสะดวกทั้งต่อร้านค้าและลูกค้า รวมถึงประโยชน์ต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ท าให้ปัจจุบัน
การชำระเงินด้วย QR Code ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยปัจจุบันมีจุดรับช าระเงินด้วย QR code แล้วมากกว่า 2 ล้านจุดทั่วประเทศ ทั้งร้านค้าทั่วไปและร้านค้า e-Commerce อาจกล่าวได้ว่า Thai Standard QR Code จะเป็นกุญแจส าคัญดอกหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยเข้าใกล้สังคมไร้เงินสดเร็วขึ้นกว่าเดิม สนับสนุนการต่อยอด นวัตกรรมใหม่ๆ ที่ท าให้ เรื่องเงิน..เป็นเรื่องง่ายนิดเดียว QR Code ในไทย
หากคุณกำลังจะจัดงานที่อยากใช้ระบบ QR Code ในกิจกรรมการจัดงานของคุณ สามารถ ติดต่อได้ที่ K&O Systems ซึ่งมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการทำ ระบบ QR Code ในงาน event มาแล้วมากมาย
อาทิ เช่น ระบบลงทะเบียนเข้างาน QR code จับรางวัล และ อื่นๆ ภายในงาน อีเว้นท์ และ งานแสดงสินค้าเข้าไปดูผลงานได้ที่นี่ Vveedigitalและสอบถามได้ที่เบอร์ 082-645-4469