RFID เหมาะไว้ใช้ทำอะไร ความหมายของ RFID , การแบ่งจำแนกประเภท

ความหมายของ RFID

RFID คือเทคโนโลยีในการบ่งชี้แบบหนึ่ง ย่อมาจาก Radio Frequency Identification วัตถุประสงค์หลักเพื่อนำมาใช้ ติดกับวัตถุต่างๆ เพื่อบ่งบอกถึงความเป็นตัวตนเฉพาะเจาะจง หรือเป็นหมายเลขประจำตัว เช่นใช้แทนฉลาก หรือรหัสแท่ง (Bar Code) ที่ติดกับสินค้า หรือใช้เป็นป้ายที่ติดกับใบหูของสัตว์เลี้ยง การทำงานของ RFID อาศัยคลื่นวิทยุ โดยจะมีส่วนประกอบสำคัญคือ เครื่องอ่าน กับ แท็ก โดยแท็กจะมีการส่งข้อมูลที่เป็นเอกลักษณ์หรือหมายเลขประจำตัวออกมาเป็นคลื่นวิทยุเมื่อถูกกระตุ้นด้วยกระบวนการบางอย่างจากเครื่องอ่าน สำหรับเครื่องอ่านจะมีส่วนที่รับสัญญาณคลื่นวิทยุได้เพื่อถอดรหัสข้อมูลที่ส่งมาจากแท็ก

ปัจจุบันได้มีการพัฒนาการใช้งาน RFID ให้มีความสามารถมากขึ้น เช่นการนำไปใช้งานกับบัตรสมาร์ตคาร์ดเป็นบัตรสมาร์ทคาร์ดแบบไร้หน้าสัมผัส (Contactless Smart Card) ทำให้นอกจากจะมีการรับส่งข้อมูลหมายเลขประจำตัวแล้ว ก็ยังสามารถติดต่อสื่อสารและเขียนอ่านข้อมูลที่มีปริมาณมากกว่าเดิมได้

RFID และ บาร์โค้ดต่างก็มีเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์เหมือนกัน ต่างกันตรงเทคโนโลยีที่ใช้ การอ่านข้อมูลจาก บาร์โค้ดจะใช้แสงในการอ่าน โดยเครื่องอ่านจำเป็นต้อง ‘มองเห็น’ ป้ายบาร์โค้ด หากป้ายนั้นเอียง ถูกบัง หรือไม่อยู่ในแนวเดียวกับเครื่องอ่าน ก็จะไม่สามารถอ่านข้อมูลได้

สำหรับเทคโนโลยี RFID ที่ใช้คลื่นวิทยุในการอ่านข้อมูล เครื่องอ่านไม่จำเป็นต้องอยู่ในแนวเดียวกับแท็กก็สามารถอ่านข้อมูลได้ นอกจากนี้แท็กของ RFID ยังเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทำให้สามารถพัฒนาเพิ่มความสามารถได้มากกว่าป้ายบาร์โค้ดที่เป็นเพียงหมึกพิมพ์บนวัสดุเช่น. บัตรpvc card  กระดาษ หรือสติ๊กเกอร์เท่านั้น

ในระบบ RFID มีช่วงความถี่กี่ประเภท

RFID สามารถใช้คลื่นวิทยุได้หลากหลายช่วงความถี่ แต่ที่นิยมกันมาก จะมีอยู่ 3 ช่วงความถี่ต่อไปนี้

  • ความถี่ต่ำ (Low Frequency) เรียกย่อๆ ว่า LF เป็นความถี่ในช่วง 125 KHz
  • ความถี่สูง (High Frequency) เรียกย่อๆ ว่า HF เป็นความถี่ในช่วง 13.56 MHz
  • ความถี่สูงมาก (Ultra High Frequency) เรียกย่อๆ ว่า UHF เป็นความถี่ในช่วง 860-960 MHz


1. คลื่นความถี่ต่ำ (LF) 125 KHz เป็นความถี่ที่มีการใช้งานทั่วไปในระบบของ RFID มีระยะในการรับส่งข้อมูลใกล้ ความเร็วในการอ่านค่อนข้างช้า ใช้มากในระบบ Access Control เช่นระบบควบคุมการเปิดปิดประตู หรือระบบคีย์คาร์ด, ระบบลงเวลาทำงาน, บัตรสมาชิก และใช้งานทางด้านปศุสัตว์

2. คลื่นความถี่สูง(HF) 13.56 MHz ใช้มากในงานทางด้านไอที และงานที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่นใช้งานในบัตรสมาร์ทคาร์ดแบบไร้หน้าสัมผัส (Contactless Smart Card) ซึ่งนิยมนำไปใช้เป็นบัตรเงินสด, บัตรเครดิต และบัตรโดยสารรถไฟฟ้า และมีการใช้งานเป็นแท็กตามมาตรฐาน NFC สำหรับโทรศัพท์มือถือ และใช้งานเป็นป้ายสินค้า

3. คลื่นความถี่สูงมาก (UHF) 860-960 MHz สามารถใช้งานได้ในระยะที่ไกลกว่าช่วงความถี่อื่น นิยมใช้งานเป็นป้ายสินค้าตามมาตรฐาน EPC ซึ่งถูกกำหนดมาให้ใช้งานแทนระบบบาร์โค้ด ดังนั้นจึงมีการใช้งานกันมากในงานทางด้านคลังสินค้า การผลิต และการจัดจำหน่าย

บัตรและแท็กแบบใดบ้างที่มีการใช้งานกันโดยทั่วไปสำหรับระบบ Access Control ในบ้านเรา

สำหรับระบบ Access Control เช่น ระบบควบคุมการเปิดปิดประตู หรือระบบคีย์คาร์ด, ระบบลงเวลาทำงาน และระบบบัตรจอดรถ ส่วนใหญ่จะเป็นบัตร EM Card ซึ่งใช้ชิป EM4100 หรือชิปที่ทำงานเทียบเท่า เช่น TK4100 ทำงานที่ความถี่ 125 KHz ซึ่งในประเทศไทยเราจะนิยมใช้งานใน 3 รูปแบบคือ

  • บัตรแบบบาง เป็นบัตรที่มีขนาดเท่ากับบัตรเครดิต มีความหนาประมาณ 0.8 mm พกพาสะดวก สามารถพิมพ์หน้าบัตรด้วยเครื่องพิมพ์ได้ มีชื่อเรียกหลายแบบ เช่น บัตรทาบ หรือบัตร Prox. (ย่อมาจาก Proximity) และบางครั้งก็เรียกว่าบัตร ISO ซึ่งหมายความว่ามีขนาดตรงตามมาตรฐาน ISO คือ หนา 0.8 mm ให้แตกต่างจากบัตรแบบหนาซึ่งไม่ตรงตามขนาดของ ISO
  • บัตรแบบหนาหรือบัตรหลังเต่า ลักษณะคือเป็นบัตรที่มีความหนาอย่างเห็นได้ชัด คือหนาประมาณ 1.8mm ได้แก่บัตรรุ่น CLI-T18 บัตรแบบนี้จะมีการทำงานของวงจรเหมือนกับบัตรแบบบางทุกประการ แต่ต่างกันที่ความหนาเท่านั้น ข้อดีของบัตรหนาคือ จะมีรูสำหรับคล้องสายได้ เหมาะสำหรับใช้ทำบัตรที่ต้องมีการคล้องคอหรือแขวน เช่น บัตรพนักงาน ความหมายของ RFID
  • พวงกุญแจ รูปร่างจะเป็นแท็กพลาสติกที่สามารถคล้องกับกุญแจได้ ทำให้พกพาสะดวก แต่การทำงานต่างๆ ก็เหมือนกับบัตรทั้ง 2 แบบ เช่นสินค้าพวงกุญแจ RFID รุ่น TKL28Y

นอกจากบัตรและแท็กแบบ EM4100 แล้ว ยังมีระบบ Accesss Control บ้างรุ่นที่ทำงานที่ความถี่สูง (HF) และต้องใช้งานร่วมกับแท็กที่ใช้ชิปตามมาตรฐาน MIFARE Classic เท่านั้น (แต่มีใช้งานกันอยู่ไม่มาก) บัตรและแท็กที่ใช้ได้จึงต้องดูที่ชิปภายในว่าเป็น MIFARE Classic Compatible หรือไม่ เช่นบัตร RFID รุ่น CMW-F1พวงกุญแจ RFID รุ่นTKM32B และTKMS-NFCB จะใช้ได้

หากคุณกำลังจะจัดงานที่อยากใช้ระบบ QR Code ในกิจกรรมการจัดงานของคุณ สามารถ ติดต่อได้ที่ K&O Systems ซึ่งมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการทำ ระบบ QR Code ในงาน event มาแล้วมากมายอาทิ เช่น ระบบลงทะเบียนเข้างาน QR code จับรางวัล และ อื่นๆ ภายในงาน อีเว้นท์ และ งานแสดงสินค้าเข้าไปดูผลงานได้ที่นี่  Vveedigitalและสอบถามได้ที่เบอร์ 082-645-4469