จ่ายเงิน QR code ในช่วงปีที่ผ่านมา QR code ได้สร้างปรากฏการณ์การ รับ-จ่ายเงิน มิติใหม่ที่สะดวก และง่ายดาย สมกับเป็นยุคดิจิทัล โดยหลายภาคส่วนต่างร่วมมือกันโหมรณรงค์ให้ผู้ประกอบการได้ทดลองนำ QR code มาตรฐาน
มาใช้งาน จากที่คุ้นเคยกับการรับเงินสด ก็หันมารับชำระค่าสินค้าและบริการด้วย QR code เช่นเดียวกับฝั่งของผู้บริโภค ที่ได้รับการกระตุ้นให้สแกนและจ่ายเงินด้วย QR payment ที่เชื่อว่าช่วยให้เพลิดเพลินกับการจับจ่ายมากขึ้น
QR payment นั้นถือเป็นระบบการชำระเงินที่เริ่มเป็นที่นิยมใช้ทั่วโลก โดยมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย เพราะสะดวก ปลอดภัย น่าเชื่อถือ ด้วยมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล QR payment จึงเป็นจุดเปลี่ยน
ของมาตรฐานการชำระเงินของไทย เอสเอ็มอีที่อาจไม่มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีมากนัก ก็สามารถสร้าง QR code รองรับการชำระเงินบนแพลตฟอร์มโมบายแอปพลิเคชั่นได้ง่าย ๆ เช่น รับชำระค่าอาหาร เสื้อผ้า ฯลฯ QR code จะช่วยเอสเอ็มอีเปิด-ปิดการขาย และต่อยอดธุรกิจออกไปไร้ขีดจำกัด
อย่างไรก็ดี บนเส้นทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ National e-Payment หรือการพัฒนาระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ เพื่อก้าวสู่สังคมไร้เงินสด (cashless society) อย่างเต็มตัว ในปีนึ้เราจะได้เห็นความพยายามยกระดับเทคโนโลยี QR code ไปอีกขั้น รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน
อย่างต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกกลุ่ม ทั้งรายใหญ่ รายย่อย ทั้งที่มีทำเลหน้าร้าน และหน้าร้านออนไลน์ ได้ทำธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินสด หรือแบกรับต้นทุนจากการติดตั้งเครื่องรูดบัตร การมาของ QR code ที่มีต้นทุนต่ำ แต่มีลูกเล่นเหลือล้น จึงช่วยเสริมศักยภาพการแข่งขันของระบบการเงินไทยไปในตัว
สำหรับเอสเอ็มอีรายย่อย สิ่งที่จะสัมผัสได้อย่างชัดเจน คือ ความสะดวกในการรับชำระเงินที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งการเพิ่มช่องทางการจ่ายเงินด้วย QR payment ยังช่วยขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากร้านค้าไม่มีระบบรองรับการชำระเงินด้วย QR code ก็เท่ากับปิดกั้นโอกาสที่จะให้บริการลูกค้าที่นับวันจะพกพาเงินสดติดตัวน้อยลง และนิยมจับจ่ายด้วยกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น
นอกจากนี้ เอสเอ็มอียังจะได้รับความสบายใจในการทำธุรกิจ ด้วยคุณสมบัติและลูกเล่นใหม่ ๆ ของเทคโนโลยี QR code ที่พัฒนาขึ้นมา ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเอสเอ็มอีบริหารจัดการร้านค้าที่เคยยุ่งยากให้กลายเป็นเรื่องง่ายดาย เช่น ผู้ประกอบการร้านอาหารใช้ QR code ในการแจ้งเตือนการรับ-ส่งออร์เดอร์อาหาร
หรือร้านค้าของชำใช้ QR code บริหารจัดการสต๊อกสินค้า ทำให้การบริหารจัดการสินค้าคงเหลือและบริหารการขายมีประสิทธิภาพ เพราะช่วยลดความผิดพลาด และเพิ่มความแม่นยำในการทำงาน
อย่างไรก็ดี บนเส้นทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ National e-Payment หรือการพัฒนาระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ เพื่อก้าวสู่สังคมไร้เงินสด (cashless society) อย่างเต็มตัว ในปีนึ้เราจะได้เห็นความพยายามยกระดับเทคโนโลยี QR code ไปอีกขั้น รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน
อย่างต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกกลุ่ม ทั้งรายใหญ่ รายย่อย ทั้งที่มีทำเลหน้าร้าน และหน้าร้านออนไลน์ ได้ทำธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินสด หรือแบกรับต้นทุนจากการติดตั้งเครื่องรูดบัตร การมาของ QR code ที่มีต้นทุนต่ำ แต่มีลูกเล่นเหลือล้น จึงช่วยเสริมศักยภาพการแข่งขันของระบบการเงินไทยไปในตัว
นอกจากนี้ยังหมดปัญหาเรื่องการจัดการเงินสด โดยตัวเลขรายได้จะเดินเข้าบัญชีโดยตรงทันที เอสเอ็มอีไม่ต้องหอบเงินสดไปฝากธนาคารที่จะเสี่ยงต่อการสูญหายหรือการโจรกรรม หากต้องการจะตรวจดูรายการเงินเข้าบัญชี ก็สามารถตรวจสอบได้เอง ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านรายงานการขายที่แยกรายได้เป็นรายสาขาให้เสร็จสรรพ การจัดการธุรกิจด้วย QR code สะดวกกว่าการค้าขายด้วยเงินสดอย่างมาก จ่ายเงิน QR code
แม้ระบบ QR payment จะได้รับการส่งเสริมให้เป็นมาตรฐานการชำระเงินหลักในอนาคต แต่ก็จะเห็นว่า QR code ยังมีศักยภาพเหลือเฟือที่พร้อมจะพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถ ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัล เมื่อประตูแห่งโอกาสเปิดกว้าง ทั้งยังมีการผลักดันให้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในวงกว้าง เอสเอ็มอีจึงไม่ควรพลาดโอกาสที่จะประยุกต์ใช้รหัสบาร์โค้ดนี้ ในการสร้างสรรค์โอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ ก่อนที่จะไล่ตามไม่ทันเทคโนโลยีที่นับวันจะติดสปีดพัฒนาอย่างรวดเร็วโดยไม่รั้งรอใคร
หากคุณกำลังจะจัดงานที่อยากใช้ระบบ QR Code ในกิจกรรมการจัดงานของคุณ สามารถ ติดต่อได้ที่ K&O Systems ซึ่งมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการทำ ระบบ QR Code ในงาน event มาแล้วมากมาย
อาทิ เช่น ระบบลงทะเบียนเข้างาน QR code จับรางวัล และ อื่นๆ ภายในงาน อีเว้นท์ และ งานแสดงสินค้าเข้าไปดูผลงานได้ที่นี่ Vveedigitalและสอบถามได้ที่เบอร์ 082-645-4469