การ ทำความสะอาดช่วงโควิด เขาทำกันอย่างไร ในช่วงที่ COVID-19 ระบาด

การ ทำความสะอาดช่วงโควิด เขาทำกันอย่างไร ในช่วงที่ COVID-19 ยังคงแพร่ระบาดอยู่ตอนนี้ หลายคนคงกังวลกับความเสี่ยงรอบตัว โดยเฉพาะสิ่งจำเป็นที่จะต้องสัมผัสประจำทุกวัน ดังนั้นทั้งตัวบุคคลเองและสถานที่ส่วนใหญ่จึงหันมาเอาจริงเอาจังกับการทำความสะอาดอาคารบ้านเรือน เพราะโอกาสที่จะไปสัมผัสเชื้อโรคเข้ามาจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ วันนี้เรามีวิธีทำความสะอาดบ้านให้ปลอดเชื้อ เพื่อป้องกันเจ้าโควิดและโรคติดต่ออื่นๆ มาฝากกัน บ้านเราจะได้สะอาด ปราศจากเชื้อ อย่างน้อยก็สร้างความสบายใจและความมั่นใจได้อีกระดับหนึ่ง

ไวรัสโควิด 19 จะมีชีวิตอยู่ในบ้านเราได้กี่วัน?

จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการยืนยันได้ว่าไวรัสโควิดจะมีชีวิตบนพื้นผิวต่างๆ ได้นานแค่ไหน อาจจะเป็นเวลาไม่กี่ชั่วโมง จนถึงมีชีวิตอยู่เป็นวัน ระยะเวลาขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ความชื้นและประเภทผิวสัมผัสที่ไวรัสเกาะอยู่ด้วย

พื้นผิวที่มีไวรัสเกาะติดแล้วต้องทำอย่างไร?

สำหรับพื้นผิวที่มีการปนเปื้อนหรือคาดว่าจะมีไวรัสเกาะติดแล้ว สามารถใช้อุปกรณ์และสารทำความสะอาดบ้านทั่วไปที่กล่าวข้างต้น โดยใช้กระดาษทิชชู ผ้าถูพื้น หรือผ้าทำความสะอาดแบบเปียกที่ใช้แล้วทิ้ง ทำความสะอาดก็สามารถฆ่าไวรัสได้แล้ว ถ้าใช้ผ้าถูพื้นต้องซักผ้าผืนนั้นทันทีหลังการทำความสะอาด น้ำยาซักผ้าทั่วไปก็สามารถฆ่าไวรัสได้ แต่ข้อควรระวังคือล้างมือให้สะอาดทั้งทุกครั้งด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดทุกครั้งหลังจากถอดถุงมือ และระวังอย่าให้มือสัมผัสดวงตา จมูก และปาก เพราะระหว่างการทำความสะอาดคุณอาจจะเคลื่อนไวรัสจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่งได้ ดังนั้นควรทำความสะอาดทีละด้านเป็นรูปตัวเอส (S) สามารถช่วยลดการกระจายเชื้อโรคระหว่างการทำความสะอาดได้

พื้นผิวส่วนไหนในบ้านที่มีโอกาสสูงที่จะมีไวรัสเกาะติดอยู่?

จริงๆ เป็นสิ่งที่ระบุได้ยากมาก เพราะถ้ามีคนที่ป่วยสักคนไอ จามโดยไม่ใส่หน้ากากหรือปิดปาก เชื้อโรคสามารถไปเกาะตามพื้นที่ใกล้เคียงได้หมด และที่สำคัญคือมือของเราเองที่มีส่วนสำคัญในการนำเชื้อโรคจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ดังนั้นพื้นผิวหรืออุปกรณ์ที่ถูกสัมผัสบ่อยครั้งมีโอกาสสูงมากขึ้นในการมีเชื้อโรคแฝงอยู่ อุปกรณ์ที่ถูกจับบ่อยๆ เช่น รีโมทคอนโทรล มือเปิดปิดตู้เย็น ที่จับประตู ก๊อกน้ำ สวิทช์ไฟต่างๆ อุปกรณ์ในครัว โต๊ เก้าอี้ หรือแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตก็มีโอกาสสูงที่จะมีไวรัสแอบแฝงตัวอยู่

การทำความสะอาดกับการฆ่าเชื้อโรคต่างกันอย่างไร?
จริงๆ ทั้งสองคำนี้มีความใกล้เคียงกันแต่ต่างกันอยู่บ้าง การทำความสะอาดคือการขจัด การเช็ดถูสิ่งแปลกปลอม สิ่งสกปรกทั้งหลาย เช่น ฝุ่น เชื้อโรคออกจากพื้นผิวต่างๆ ในขณะที่การฆ่าเชื้อโรคคือการใช้สารเคมีในการฆ่าเชื้อโรคบนพื้นผิว การทำความสะอาดก่อนช่วยอย่างมากในการทำให้สารเคมีฆ่าเชื้อโรคทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


แล้วควรใช้อะไรในการทำความสะอาดและควรทำอย่างไร?

จริงๆ แล้วโควิดมีโครงสร้างที่เปราะบาง ความร้อนหรือสารเคมีทั่วไปในการทำความสะอาด เช่น ผงซักฟอก สบู่ น้ำยาล้างจาน น้ำยาฟอกขาว (bleach) หรือที่คนไทยมักเรียกติดปากว่าไฮเตอร์ก็สามารถฆ่าไวรัสได้แล้วโดยการใช้บรีช ให้ผสม 1/3 ถ้วย ต่อน้ำ 1 แกลลอน ทุกครั้งที่ทำความสะอาดควรใส่ถุงมือที่ใช้แล้วทิ้ง หลังจากนั้นเพื่อความสบายใจหลังการทำความสะอาดสามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อตามได้อีก

จานชาม มีด อุปกรณ์เครื่องครัวควรทำอย่างไร?

ถ้าเป็นไปได้ล้างด้วยน้ำร้อนกับน้ำยาล้างจานปกติก็เพียงพอ ยิ่งถ้าบ้านไหนใช้เครื่องล้างจานจะดีมากเพราะปกติเครื่องล้างจานจะใช้น้ำร้อนและมีการอบจานชามด้วยความร้อนอยู่แล้ว

เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ชุดเครื่องนอนควรทำอย่างไร?

สำหรับผ้าที่มีความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อ ถ้าใช้เครื่องซักผ้าให้ตั้งค่าเป็นน้ำร้อนและต้องตากหรืออบให้แห้งสนิท ข้อควรระวังคืออย่าสะบัดผ้าก่อนซักเพราะอาจกระจายเชื้อจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่งได้ และอย่าลืมล้างมือทุกครั้งหลังจากสัมผัสผ้าเหล่านั้น

การป้องกันเป็นวิธีการที่ดีที่สุด

พื้นผิวสัมผัสต่างๆ มีส่วนสำคัญมากในการกระจายไวรัส ดังนั้นการป้องกันไม่ให้พื้นผิวต่างๆ มีไวรัสเกาะติดตั้งแต่แรกเป็นวิธีที่ดีที่สุด คือใส่หน้ากากเพื่อป้องการแพร่กระจายเมื่อมีการไอ จาม หรือใช้ทิชชูปิดปาก ถ้าไม่มีจริงๆ ให้จามที่ข้อศอก และล้างมือทันทีหลังการไอ จาม หรือถึงแม้ไม่มีอาการไอ จามต้องหมั่นล้างมือให้บ่อยที่สุด ข้อแนะนำในการล้างมือฟอกสบู่อย่างน้อย 20 วินาที หรือถ้าใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือต้องมีความเข้มข้นไม่ต่ำกว่า 70% โดยควรล้างมือก่อนและหลังการทำสิ่งเหล่านี้

หลังการสั่งน้ำมูก ไอ จาม
หลังใช้ห้องน้ำ
หลังจากเล่นกับสัตว์เลี้ยง
ก่อนทำอาหาร
ก่อนรับประทานอาหาร
ก่อนดูแลผู้อื่น เช่น เด็กหรือผู้สูงอายุ

การทำความสะอาดพื้นที่ในชุมชน เมื่อพบผู้ป่วยยืนยัน หรือผู้ต้องสงสัยโควิด-19
การทำความสะอาดพื้นที่เมื่อพบผู้ป่วย หรือผู้ต้องสงสัยโควิด-19 ควรทำความสะอาดด้วยวิธีทั่วไปในพื้นที่ที่ผู้ป่วยไม่ได้ใช้งาน และทำความสะอาดด้วยวิธีฆ่าเชื้อเฉพาะพื้นที่ที่ผู้ป่วยใช้งานเท่านั้น ไม่มีความจำเป็นต้องฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อในบริเวณกว้าง เช่น อาคาร หรือทางเดิน ที่ไม่มีเลือด หรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยปนเปื้อนอยู่ เนื่องจากเชื้อโรคอาจไม่สัมผัสกับน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือระยะเวลาในการสัมผัสสั้นเกินไป ทำให้ไม่ได้ผล สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ และยังอาจเกิดอันตรายได้อีกด้วย

ปิดบริเวณที่ผู้ป่วยใช้งานชั่วคราว เปิดหน้าต่าง และประตูให้อากาศถ่ายเทสะดวก (ประมาณ 24 ชั่วโมง ถ้าทำได้) ก่อนเริ่มทำความสะอาด และฆ่าเชื้อ

การทำความสะอาด และฆ่าเชื้อควรทำโดยบุคลากรที่ได้รับการฝึกฝนให้เข้าใจวิธีการทำความสะอาด วิธีการใช้น้ำยาต่างๆ และการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย

ทำความสะอาด และกำจัดเชื้อไวรัสในทุกพื้นที่ที่ผู้ป่วยใช้งาน เช่น สำนักงาน พื้นที่ส่วนกลาง ห้องอาหาร ห้องน้ำ โดยเฉพาะพื้นผิวที่ถูกสัมผัสบ่อย ทำความสะอาดช่วงโควิด

ทำความสะอาดพื้นผิวต่างๆ ตามปกติก่อน เนื่องจากสิ่งสกปรกบนพื้นผิวจะทำให้ประสิทธิภาพของน้ำยาฆ่าเชื้อลดลง หลังจากนั้นใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดถูพื้นผิวตามคำแนะนำบนฉลาก

หากสามารถนำสิ่งของมาซักทำความสะอาดได้ ให้ซักด้วยน้ำร้อน และผงซักฟอก

น้ำยาที่สามารถใช้ฆ่าเชื้อโรคได้
น้ำยาฟอกขาว (Sodium Hypochlorite) เข้มข้น 0.05% ผสมน้ำยา 1 ส่วนในน้ำ 99 ส่วน ใช้ทำความสะอาดพื้นผิวทั่วไป

น้ำยาฟอกขาว เข้มข้น 0.5% ผสมน้ำยา 1 ส่วนในน้ำ 9 ส่วน สำหรับทำความสะอาดพื้นผิวที่พบสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ เช่น ห้องน้ำ โถส้วม ฯลฯ และควรทิ้งไว้หลังจากเช็ดด้วยน้ำยาแล้วอย่างน้อย 15 นาที (การใช้น้ำยาฟอกขาว ควรระมัดระวังกลิ่นที่ค่อนข้างฉุน และอาจกัดกร่อนโลหะได้ นอกจากนี้ควรระมัดระวังไม่ให้โดนผิวหนัง เพราะอาจเกิดอาการปวดแสบร้อนได้)

แอลกอฮอล์เข้มข้น 70% ใช้สำหรับพื้นผิวโลหะ (ข้อควรระวัง ระวังระคายเคืองผิวหนังขณะใช้ และอาจก่อให้เกิดสนิมบนโลหะได้)

ผงซักฟอกผสมน้ำร้อน 70 องศาเซลเซียส ใช้สำหรับสิ่งแวดล้อม หรือวัสดุที่เป็นผ้า เช่น ผ้าม่าน ผ้าปูที่นอน (ข้อควรระวัง อาจระคายเคืองผิวหนังในบางรายได้)

เดทตอล (4.8% Chloroxylenol) เข้มข้น 2.5% ผสมน้ำยา 1 ส่วน ในน้ำ 39 ส่วน ใช้สำหรับทำความสะอาดพื้นผิวปกติ ทิ้งไว้หลังเช็ด 5 นาที

เดทตอล (สูตรเดียวกับข้างบน) เข้มข้น 5% ผสมน้ำยา 1 ส่วน กับแอลกอฮอล์ 70% 19 ส่วน ใช้สำหรับทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน ทิ้งไว้หลังเช็ด 5 นาที (ระวังระคายเคืองมือขณะใช้)

หากคุณกำลังจะจัดงานที่อยากใช้ระบบ QR Code ในกิจกรรมการจัดงานของคุณ สามารถ ติดต่อได้ที่ K&O Systems ซึ่งมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการทำ ระบบ QR Code ในงาน event มาแล้วมากมาย

อาทิ เช่น ระบบลงทะเบียนเข้างาน QR code จับรางวัล และ อื่นๆ ภายในงาน อีเว้นท์ และ งานแสดงสินค้าเข้าไปดูผลงานได้ที่นี่  Vveedigitalและสอบถามได้ที่เบอร์ 082-645-4469