จริงๆแล้ว การใช้งาน RFID วัตถุประสงค์หลักเพื่อนำมาใช้อะไรกันแน่

การใช้งาน RFID วัตถุประสงค์หลักเพื่อนำมาใช้ ติดกับวัตถุต่างๆ เพื่อบ่งบอกถึงความเป็นตัวตนเฉพาะเจาะจง หรือเป็นหมายเลขประจำตัว เช่นใช้แทนฉลาก หรือรหัสแท่ง (Bar Code) ที่ติดกับสินค้า หรือใช้เป็นป้ายที่ติดกับใบหูของสัตว์เลี้ยง  การทำงานของ RFID อาศัยคลื่นวิทยุ โดยจะมีส่วนประกอบสำคัญคือ เครื่องอ่าน กับ แท็ก โดยแท็กจะมีการส่งข้อมูลที่เป็นเอกลักษณ์หรือหมายเลขประจำตัวออกมาเป็นคลื่นวิทยุเมื่อถูกกระตุ้นด้วยกระบวนการบางอย่างจากเครื่องอ่าน สำหรับเครื่องอ่านจะมีส่วนที่รับสัญญาณคลื่นวิทยุได้เพื่อถอดรหัสข้อมูลที่ส่งมาจากแท็ก

ปัจจุบันได้มีการพัฒนาการใช้งาน RFID ให้มีความสามารถมากขึ้น เช่นการนำไปใช้งานกับบัตรสมาร์ตคาร์ดเป็นบัตรสมาร์ทคาร์ดแบบไร้หน้าสัมผัส (Contactless Smart Card) ทำให้นอกจากจะมีการรับส่งข้อมูลหมายเลขประจำตัวแล้ว ก็ยังสามารถติดต่อสื่อสารและเขียนอ่านข้อมูลที่มีปริมาณมากกว่าเดิมได้

นยุคที่โลกหมุนพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีต่างๆ ได้ถูกพัฒนาขึ้นมามากมาย เพื่อตอบสนองและอำนวยความสะดวกสบายในทุกๆ ด้าน อีกทั้งยังเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ หนึ่งในเทคโนโลยีที่สามารถพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน ก็คงจะหนีไม่พ้น “เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี” (RFID – Radio Frequency Identification) เทคโนโลยีที่ใช้คลื่นวิทยุในการทำงาน สามารถอ่านข้อมูลได้ทันทีโดยไม่ต้องมีการสัมผัส ปัจจุบันถูกนำมาใช้งานหลากหลายด้านอย่างแพร่หลาย ทั้งบัตรประชาชน บัตร ATM ฉลากของสินค้า และอื่นๆ อีกมากมาย

  1. ป้าย (RFID Tag, Transponder-Responder)
    ภายในประกอบไปด้วย เสาอากาศ และตัวไมโครชิป เสาอากาศจะทำหน้าที่รับส่งสัญญาณคลื่นวิทยุระหว่าง ป้าย (RFID Tag) กับเครื่องอ่าน (Reader) ป้ายที่ทุกคนมักเห็นกันจนชินตาก็คงจะหนีไม่พ้น ป้ายที่ติดสินค้ากันขโมยในห้างสรรพสินค้า และตั๋วรถไฟฟ้าที่เป็นเหรียญกลมสีดำ ที่ใช้แตะเพื่อเข้าสู่ชานชาลา
  2. เครื่องอ่านป้าย (Reader, Interrogator)
    มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อกับป้าย (RFID Tag) เพื่อทำการอ่านหรือเขียนข้อมูลลงในป้ายโดยใช้สัญญาณวิทยุ ซึ่งภายในเครื่องอ่านจะประกอบด้วย เสาอากาศ เพื่อใช้รับ – ส่งสัญญาณ สัญญาณวิทยุ ภาครับ-ภาคส่ง วงจรควบคุม การอ่าน-เขียนข้อมูล และส่วนที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ เครื่องอ่านจะมีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันไป แต่ที่หลายคนคุ้นตากันดีก็จะมี เครื่องอ่านบาร์โค้ด เครื่องอ่านป้ายทะเบียนรถ และเครื่องอ่านบัตรสแกนเวลาเข้าทำงาน
  3. ระบบที่ใช้ประมวลผล (Hardware)
    เป็นส่วนที่จะทำการประมวลผลข้อมูลที่ได้มาจากป้าย (RFID Tag) หรือจะสร้างข้อมูลเพื่อส่งไปยังป้าย และยังเป็นที่เก็บระบบฐานข้อมูลได้อีกด้วย โดยระบบที่คนนิยมใช้ในปัจจุบันจะมี ระบบการจัดการฟาร์มปศุสัตว์ ระบบคลังสินค้า ระบบขนส่ง และระบบการบริหารจัดการทรัพยากร การใช้งาน RFID


ประเทศสหรัฐอเมริกามีการใช้เทคโนโลยีฝังชิ้นส่วนของไมโครชิพ ซึ่งทำงานด้วยระบบ RFID เข้าสู่ผิวหนังผู้ป่วยได้ โดยเจ้าไมโครชิพนี้มีขนาดเล็กมากๆ ขนาดเท่ากับ “เมล็ดข้าว” ใช้ฉีดเข้าไปฝังตัวใต้ผิวหนังของผู้ป่วย เพื่อช่วยเก็บข้อมูลทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลกรุ๊ปเลือด ข้อมูลการเกิดภูมิแพ้ ข้อมูลลักษณะเฉพาะของผู้ป่วยแต่ละบุคคล เพื่อให้แพทย์ช่วยรักษาและวินิจฉัยให้ตรงกับโรคได้มากที่สุด

RFID กับการเกษตรกรรม
การนำหมูเข้าสู่โรงงานชำแหละ จะมีป้าย (RFID Tag) ติดอยู่บนขอเกี่ยว เมื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตแปรรูปโดยมีป้ายติดอยู่ที่ตะกร้า ไปจนถึงการผลิตเป็นแพ็คเกจ ขั้นตอนสุดท้ายของระบบจะถูกเปลี่ยนเป็นบาร์โค้ดเพื่อกระจายไปยังซูเปอร์มาร์เก็ต ทำให้ผู้บริโภคสามารถติดตามตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังของผลิตภัณฑ์ได้

RFID กับอุตสาหกรรมรถยนต์
การแสดงตัวของรถยนต์แต่ละคัน การอนุญาตการเข้า-ออก ด้วยการใช้วิธีฝัง RFID ไว้กับกุญแจ หรือ คีย์การ์ดสำหรับเปิดประตูรถ ซึ่งจะทำให้มีการดูแลเอาใจใส่ที่สะดวกสบายและความปลอดภัยให้กับเจ้าของรถได้มากยิ่งขึ้น


RFID กับการเข้า-ออกอาคาร (Access Control, Personal Identification)
ระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ (E-Ticket) ปัจจุบันมีหลากหลายมาก ทั้งบัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้า ใช้ RFID ช่วยประหยัดเวลาในการต่อคิวชำระเงินได้ดี เมื่ออยู่ในช่วงเวลาที่เร่งด่วน

ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Passport) กระทรวงการต่างประเทศของหลายประเทศได้ฝัง RFID Tag ไว้ โดยภายในป้ายที่ฝังไว้จะมีข้อมูลของบุคคลที่เป็นเจ้าของ เพื่อให้สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ทันทีที่เดินผ่านบริเวณเครื่องอ่านสัญญาณ ทำให้เพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการ และช่วยในการรักษาความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ยังรวมไปถึงระบบการสแกนบัตรเข้าสู่ตัวอาคาร หอพัก หรือสแกนบัตรเพื่อเข้าทำงานอีกด้วย

RFID กับระบบรักษาความปลอดภัยในห้างสรรพสินค้า
เชื่อว่าหลายๆ คนที่ไปเดินตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป ซึ่งตรงทางเข้าหรือทางออกจะต้องเดินผ่านเครื่องอ่านประเภทให้คนเดินผ่าน ซึ่งก็คือเทคโนโลยี RFID ที่ถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันการขโมยสินค้า โดยจะติดป้าย (RFID Tag) ไว้กับสินค้าที่ต้องการตรวจสอบ ซึ่งในเวลาซื้อปกติ ทางพนักงานจะดึงป้ายนี้ออก หรืออาจจะมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ป้าย เพื่อไม่ให้เกิดเสียงดังเวลาที่ผ่านเครื่องอ่าน ในกรณีที่มีการขโมยสินค้า เมื่อผ่านเครื่องอ่าน เครื่องจะส่งเสียงดังให้หน่วยรักษาความปลอดภัยทราบ

RFID กับฟุตบอลโลก 2018
Fifa World Cup งานฟุตบอลโลกประจำปี 2018 มีแฟนบอลต้องการเข้าชมเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการขายบัตรที่ผิดกฎหมายเกิดขึ้น ทางเอชไอดี โกลบอลจึงผลิตบัตรสมาร์ททิคเก็ตที่ฝังเทคโนโลยี RFID ข้อมูลส่วนตัวที่เก็บอยู่ในชิปของบัตรจะได้รับการเข้ารหัสและลงนามแบบดิจิทอล ป้องกันการถูกปลอมแปลงข้อมูล และเพื่อรักษาความปลอดภัยในการรับชม Fifa World Cup ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


หลายคนคงจะเห็นแล้วว่า “RFID” เป็นเทคโนโลยีที่ใกล้ตัวมากๆ พบเจอแทบจะทุกสถานที่ในชีวิตประจำวัน แถมยังมีประโยชน์มากมาย ใช้งานได้อย่างแพร่หลายในทุกแวดวง เชื่อว่าในอนาคตเทคโนโลยีคลื่นวิทยุสุดอัจฉริยะตัวนี้ จะถูกนำมาพัฒนาต่อยอดให้ตอบสองทุกไลฟ์สไตล์ของมนุษย์มากขึ้นและดียิ่งขึ้นไปอีกในอนาคต

หากคุณกำลังจะจัดงานที่อยากใช้ระบบ QR Code ในกิจกรรมการจัดงานของคุณ สามารถ ติดต่อได้ที่ K&O Systems ซึ่งมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการทำ ระบบ QR Code ในงาน event มาแล้วมากมายอาทิ เช่น ระบบลงทะเบียนเข้างาน QR code จับรางวัล และ อื่นๆ ภายในงาน อีเว้นท์ และ งานแสดงสินค้าเข้าไปดูผลงานได้ที่นี่  Vveedigitalและสอบถามได้ที่เบอร์ 082-645-4469