การทำงานระบบ RFID และ การบรรจุอุปกรณ์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์กับโลหะ


การทำงานระบบ RFID
ส่วนที่ถือว่าเป็น หัวใจของ RFID คือ “Inlay” การบรรจุอุปกรณ์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์กับโลหะที่ยืดหยุ่นได้สำหรับการติดตามหรือทำหน้าที่เป็นเสาอากาศ Inlay มีความหนาสูงสุดอยู่ที่ 0.375 มิลลิเมตร สามารถทำเป็นแผ่นบางอัดเป็นชั้นๆ ระหว่างกระดาษ, แผ่นฟิล์ม หรือพลาสติกก็ได้ การที่ Inlay มีลักษณะรูปร่างที่บาง จึงทำให้ง่ายต่อการติดเป็นป้ายชื่อหรือฉลากของติดที่ตัววัตถุ
RFID เป็นระบบที่นำเอาคลื่นวิทยุมาเป็นคลื่นพาหะเพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์สองชนิดที่ Tag และ Reader ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) โดยการนำข้อมูลที่ต้องการส่ง มาทำการมอดูเลต (Modulation) กับคลื่นวิทยุแล้วส่งออกผ่านทางสายอากาศที่อยู่ในตัวรับข้อมูล

ตัวอย่าง ภาพแสดงสนามแม่เหล็กจากกระบวนคู่ควบแบบเหนี่ยวนำ

หลักการทำงานเบื้องต้นของ RFID
1. Reader จะปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาตลอดเวลา และคอยตรวจจับว่ามี Tagในบริเวณสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการคอยตรวจจับว่ามีการมอดูเลตสัญญาณเกิดขึ้นหรือไม่
2. เมื่อมี Tag ข้ามาอยู่ในบริเวณสนามแม่เหล็กไฟฟ้า Tag จะได้รับพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากการเหนี่ยวนำของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อให้ Tag เริ่มทำงาน และจะส่งข้อมูลในหน่วยความจำที่ผ่านการมอดูเลตกับคลื่นพาหะแล้วออกมาทางสายอากาศที่อยู่ภายในแท็ก
3. คลื่นพาหะที่ถูกส่งออกมาจากแท็กส์จะเกิดการเปลี่ยนแปลงแอมปลิจูด, ความถี่ หรือเฟส ขึ้นอยู่กับวิธีการมอดูเลต
4. Reader จะตรวจจับความเปลี่ยนแปลงของคลื่นพาหะแปลงออกมาเป็นข้อมูลแล้วทำการถอดรหัสเพื่อนำข้อมูลไปใช้งานต่อไป
หลักการทำงานของ Passive Tag
ในย่านความถี่ต่ำและสูง(LF และ HF) จะใช้ หลักการคู่ควบแบบเหนี่ยวนำ (Inductive coupling) ซึ่งเกิดจากการอยู่ใกล้กันของขดลวดจากเครื่องอ่านที่กำลังทำงานและสายอากาศของป้าย ทำให้เกิดการถ่ายเทพลังงานจากเครื่องอ่านไปยังป้ายผ่านสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้น เมื่อไมโครชิปได้รับพลังงานก็จะทำงานตามที่ได้ตั้งค่าไว้ โดยเครื่องอ่านจะรับรู้ได้จากสนามแม่เหล็กที่ส่งมาจากป้าย
จากหลักการทำงานแบบคู่ควบเหนี่ยวนำ ทำให้ระยะในการอ่านข้อมูลสูงสุดประมาณ 1 เมตร แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำลังงานของครื่องอ่าน และ คลื่นความถี่วิทยุที่ใช้

ตัวอย่าง ภาพแสดงสนามแม่เหล็กจากกระบวนคู่ควบแบบเหนี่ยวนำ

ส่วนในระบบความถี่สูงยิ่ง (UHF) จะใช้หลักการคู่ควบแบบแผ่กระจาย (Propagation coupling) โดยที่สายอากาศของเครื่องอ่านจะทำการส่งพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าในรูปคลื่นวิทยุออกมา เมื่อป้ายได้รับสัญญาณผ่านสายอากาศ จะสะท้อนกลับคลื่นที่ถูกปรับค่าตามรหัสประจำตัวไปยังเครื่องอ่าน (backscattering)

ตัวอย่าง ภาพแสดง หลักการทำงานของ LF , HF และ UHF

หลักการทำงานของ Active Tag
Active Tag จะทำการส่งข้อมูลก็ต่อเมื่อได้รับสัญญาณจากเครื่องอ่าน และ เครื่องบอกตำแหน่ง หรือ เบคอน (beacon) ซึ่งสัญญาณจะถูกปล่อยออกมาเป็นระยะ ๆ ตลอดเวลา

การรับ – ส่งข้อมูลระหว่าง Tag และ Reader
การส่งข้อมูลของ RFID สามารถเข้ารหัสข้อมูล และมอดูเลชั่นได้เหมือนคลื่นความถี่วิทยุทั่วไป โดยสามารถมอดูเลตได้ทั้งแบบ ASK, PSK, FSK รูปแบบการส่งข้อมูล แบบ Full Duplex, Half Duplex , Sequential และมีระบบการใช้งานได้พร้อมกัน แบบ TDMA,FDMA ,CDMA,SDMA

RFID กับการแพทย์
ประเทศสหรัฐอเมริกามีการใช้เทคโนโลยีฝังชิ้นส่วนของไมโครชิพ ซึ่งทำงานด้วยระบบ RFID เข้าสู่ผิวหนังผู้ป่วยได้ โดยเจ้าไมโครชิพนี้มีขนาดเล็กมากๆ ขนาดเท่ากับ “เมล็ดข้าว” ใช้ฉีดเข้าไปฝังตัวใต้ผิวหนังของผู้ป่วย เพื่อช่วยเก็บข้อมูลทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลกรุ๊ปเลือด ข้อมูลการเกิดภูมิแพ้ ข้อมูลลักษณะเฉพาะของผู้ป่วยแต่ละบุคคล เพื่อให้แพทย์ช่วยรักษาและวินิจฉัยให้ตรงกับโรคได้มากที่สุด

RFID กับการเกษตรกรรม
การนำหมูเข้าสู่โรงงานชำแหละ จะมีป้าย (RFID Tag) ติดอยู่บนขอเกี่ยว เมื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตแปรรูปโดยมีป้ายติดอยู่ที่ตะกร้า ไปจนถึงการผลิตเป็นแพ็คเกจ ขั้นตอนสุดท้ายของระบบจะถูกเปลี่ยนเป็นบาร์โค้ดเพื่อกระจายไปยังซูเปอร์มาร์เก็ต ทำให้ผู้บริโภคสามารถติดตามตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังของผลิตภัณฑ์ได้

RFID กับอุตสาหกรรมรถยนต์
การแสดงตัวของรถยนต์แต่ละคัน การอนุญาตการเข้า-ออก ด้วยการใช้วิธีฝัง RFID ไว้กับกุญแจ หรือ คีย์การ์ดสำหรับเปิดประตูรถ ซึ่งจะทำให้มีการดูแลเอาใจใส่ที่สะดวกสบายและความปลอดภัยให้กับเจ้าของรถได้มากยิ่งขึ้น

“RFID” เทคโนโลยีคลื่นวิทยุสุดอัจฉริยะ
RFID กับการเข้า-ออกอาคาร (Access Control, Personal Identification)
ระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ (E-Ticket) ปัจจุบันมีหลากหลายมาก ทั้งบัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้า ใช้ RFID ช่วยประหยัดเวลาในการต่อคิวชำระเงินได้ดี เมื่ออยู่ในช่วงเวลาที่เร่งด่วน

ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Passport) กระทรวงการต่างประเทศของหลายประเทศได้ฝัง RFID Tag ไว้ โดยภายในป้ายที่ฝังไว้จะมีข้อมูลของบุคคลที่เป็นเจ้าของ เพื่อให้สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ทันทีที่เดินผ่านบริเวณเครื่องอ่านสัญญาณ ทำให้เพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการ และช่วยในการรักษาความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ยังรวมไปถึงระบบการสแกนบัตรเข้าสู่ตัวอาคาร หอพัก หรือสแกนบัตรเพื่อเข้าทำงานอีกด้วย

RFID กับระบบรักษาความปลอดภัยในห้างสรรพสินค้า
เชื่อว่าหลายๆ คนที่ไปเดินตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป ซึ่งตรงทางเข้าหรือทางออกจะต้องเดินผ่านเครื่องอ่านประเภทให้คนเดินผ่าน ซึ่งก็คือเทคโนโลยี RFID ที่ถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันการขโมยสินค้า โดยจะติดป้าย (RFID Tag) ไว้กับสินค้าที่ต้องการตรวจสอบ ซึ่งในเวลาซื้อปกติ ทางพนักงานจะดึงป้ายนี้ออก หรืออาจจะมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ป้าย เพื่อไม่ให้เกิดเสียงดังเวลาที่ผ่านเครื่องอ่าน ในกรณีที่มีการขโมยสินค้า เมื่อผ่านเครื่องอ่าน เครื่องจะส่งเสียงดังให้หน่วยรักษาความปลอดภัยทราบ

RFID กับฟุตบอลโลก 2018
Fifa World Cup งานฟุตบอลโลกประจำปี 2018 มีแฟนบอลต้องการเข้าชมเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการขายบัตรที่ผิดกฎหมายเกิดขึ้น ทางเอชไอดี โกลบอลจึงผลิตบัตรสมาร์ททิคเก็ตที่ฝังเทคโนโลยี RFID ข้อมูลส่วนตัวที่เก็บอยู่ในชิปของบัตรจะได้รับการเข้ารหัสและลงนามแบบดิจิทอล ป้องกันการถูกปลอมแปลงข้อมูล และเพื่อรักษาความปลอดภัยในการรับชม Fifa World Cup ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

หากคุณกำลังจะจัดงานที่อยากใช้ระบบ QR Code ในกิจกรรมการจัดงานของคุณ สามารถ ติดต่อได้ที่ K&O Systems ซึ่งมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการทำ ระบบ QR Code ในงาน event มาแล้วมากมายอาทิ เช่น ระบบลงทะเบียนเข้างาน QR code จับรางวัล และ อื่นๆ ภายในงาน อีเว้นท์ และ งานแสดงสินค้าเข้าไปดูผลงานได้ที่นี่  Vveedigitalและสอบถามได้ที่เบอร์ 082-645-4469